irpg Community

Full Version: [Source Code] สร้างเกม XO หรือ Tic-Tac-Toe | ไม่มี AI (★ ระดับง่าย)
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
ติดตามเราได้ที่ Facebook ชื่อเพจ Planila Game Developer


ตั้งกระทู้ในหมวด Completed Project เพราะจุดประสงค์หลักคือการแจกเกมพร้อม source code ส่วนการสอนอธิบายนั่นเป็นแค่สิ่งที่เพิ่มเติมมา (ถึงแม้จะยาวก็เถอะ Derp)

นักสร้างเกมมือใหม่หลายคนศึกษาวิธีสร้างเกมมากมาย อ่านมาหลายตำราหลายทฤษฎี แต่กลับพบว่าหลายคนยังสร้างเกมด้วยตนเองไม่ได้สักที ถ้าคิดว่าแค่อ่านตำราให้มากเพียงอย่างเดียวแล้วจะสร้างเกมเป็น ผลลัพธ์ก็ออกมาให้เห็นแล้วว่าไม่จริง การสร้างเกมรวมทั้งการเขียนโปรแกรมมีฐานเป็นสองเสาหลักได้แก่การใช้งาน (ความรู้ด้านภาษาคอมพิวเตอร์, ความรู้ด้านการใช้โปรแกรม, ทฤษฎีต่าง ๆ ฯลฯ) และอัลกอริทึม ถ้าไม่สามารถแปลงความคิดในหัวให้เป็นอัลกอริทึมได้ก็ไม่สามารถสร้างเกมได้อย่างที่ต้องการ ผู้เขียนแนะนำให้นักสร้างเกมมือใหม่ฝึกเรื่องการออกแบบอัลกอริทึมให้คล่อง สำหรับบทความในชุดนี้ไม่ได้เขียนมาเพื่อสอนพื้นฐานหรือฝึกอัลกอริทึมของผู้อ่าน จุดประสงค์ของบทความชุดนี้คือการอธิบายอัลกอริทึมจาก source code จริงของเกมต่าง ๆ ผู้อ่าน

[Image: 09.png]

ไฟล์ TicTacToe.zip (ลิงค์ดาวน์โหลดอยู่ท้ายบทความ) ประกอบด้วย source code 3 ชุดได้แก่
  • Java
  • Visual Basic (VB)
  • RPG Maker VX Ace (RMVXA)
Source code ทั้งสามชุดมีอัลกอริทึมเหมือนกัน ต่างกันเพียงความสามารถของแต่ละภาษาหรือโปรแกรม ผู้อ่านสามารถเลือก source code ใดก็ได้



ภาพรวมอัลกอริทึม
[Image: 00.png]

ก่อนสร้างเกมอะไรขึ้นมาต้องแปลงความคิดในหัวให้เป็นอัลกอริทึมคร่าว ๆ ก่อน ในตัวอย่างนี้จะออกแบบอัลกอริทึมคร่าว ๆ ดัง flowchart ข้างบน ผู้อ่านต้องเข้าใจอัลกอริทึมข้างต้นให้ชัดเจนก่อนลงมือสร้างเกม เพื่อให้เห็นแนวทางว่าเกมทำงานได้อย่างไร ต้องออกแบบเกมอย่างไร มีหน้าตาอย่างไร เขียนโค้ดอะไรบ้าง

สำหรับอัลกอริทึมคร่าว ๆ นี้จะใส่เพียงแค่สิ่งที่จำเป็นจริง ๆ ในการทำงานของเกม ไม่ลงลึกถึงการเขียนโปรแกรม จะเห็นว่ามีบอกแค่ให้ตรวจสอบ "ชนะแล้ว" และ "เสมอแล้ว" ไม่ได้บอกว่าการชนะหรือการเสมอนั้นเป็นอย่างไร ส่วนตัวแปร player ที่ใส่มาในอัลกอริทึมคร่าว ๆ นี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพราะเป็นตัวแปรที่เก็บค่าว่าตอนนี้เป็นตาของฝ่าย X หรือเป็นตาของฝ่าย O

ข้างล่างนี้จะเป็นอัลกอริทึมแบบละเอียด ซึ่งนำอัลกอริทึมคร่าว ๆ ข้างบนมาออกแบบให้ละเอียดขึ้น และนำไปใช้งานจริงได้



อธิบายอัลกอริทึมพร้อมตัวอย่าง

1. ออกแบบส่วนแสดงผลที่เป็นกราฟฟิก (Graphic User Interface: GUI) ในตัวอย่างนี้ RMVXA ออกแบบให้แสดงภาพตั้งต้นซึ่งเป็นภาพว่างสีส้มจำนวน 3 x 3 ภาพในแนวตั้งและแนวนอน และแสดงภาพสีน้ำเงินที่โปร่งแสงบางส่วนเพื่อใช้เป็นเคอร์เซอร์ (cursor) ส่วน Java และ VB ออกแบบเป็นปุ่มกด (button) จำนวน 3 x 3 ปุ่มในแนวตั้งและแนวนอน สำหรับภาษา Java ต้องใช้คลาสเพิ่มเติมในการแสดงหน้าต่างแบบ GUI ในตัวอย่างนี้เลือกใช้ JavaFX ในการสร้าง GUI

[Image: 01.png]


การเขียนโปรแกรมบางภาษา เช่น Java, C ต้องใช้คลาสพิเศษในการสร้าง GUI ซึ่งอาจยากสำหรับนักสร้างเกมมือใหม่ ถ้าไม่ต้องการออกแบบเกมแบบ GUI สามารถออกแบบเป็น command line ดังรูปข้างล่างแทนได้ แม้ว่าจะไม่สวยงามแต่ก็เขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่า และเหมาะสมสำหรับการฝึกอัลกอริทึมสำหรับนักสร้างเกมมือใหม่ เพราะไม่ต้องเสียเวลาศึกษาและออกแบบ GUI

[Image: 02.png]

......

นี่เพิ่งแค่ 40% ของบทความนี้เท่านั้น บทความฉบับเต็มมีเยอะกว่านี้อีก!


เนื่องจากติดปัญหาเรื่องนโยบายการเผยแพร่บทความ ทำให้เราไม่สามารถเผยแพร่บทความเต็มและ source code ลงในเว็บนี้ได้ อ่านฉบับเต็มได้ที่บทความต้นฉบับ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

บทความต้นฉบับ https://planila.blogspot.com/2019/06/sou...oe-ai.html

[Image: %25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8...9%2588.png]
:o

สวดยอดดดไปเลยย
ขอบคุณที่แบ่งปันคับ