เปรียบเทียบเผ่าพันธุ์ในตำนานเทพนิยาย (ตะวันออก - ตะวันตก) - Printable Version +- irpg Community (https://irpg.in.th) +-- Forum: Imperial School of Art, Literature and Design (https://irpg.in.th/forum-41.html) +--- Forum: Art Square (https://irpg.in.th/forum-17.html) +--- Thread: เปรียบเทียบเผ่าพันธุ์ในตำนานเทพนิยาย (ตะวันออก - ตะวันตก) (/thread-3522.html) |
เปรียบเทียบเผ่าพันธุ์ในตำนานเทพนิยาย (ตะวันออก - ตะวันตก) - shettawat - 09-24-2020 เปรียบเทียบเผ่าพันธุ์ในตำนานเทพนิยาย
ตะวันออก (East) - ตะวันตก (West) Eng.
1.Bhuta - Fairy 2.Preta - Undead 3.Pishaca - Devil 4.Kinnara - Satyr, Siren etc. 5.Mahoraga - Gorgon 6.Naga - Dragon 7.Garuda - Griffin 8.Karavika - Phoenix 9.Hastilinga - Roc 10.Valahaka - Pegasus 11.Gandharva - Elf 12.Vamana - Dwarf 13.Vidyadhara - Wizard 14.Siddha - Sorcerer 15.Jadugara - Shaman 16.Vejjabhuta - Necromancer 17.Kumbhanda - Ogre 18.Rakshasa - Troll 19.Yaksha - Giant 20.Vyanta - Golem Thai. ๑.ภูต - แฟรี่ ๒.เปรต - อันเดด ๓.ปีศาจ - เดวิล ๔.กินนร - เซเทอร์, ไซเรน ฯลฯ ๕.มโหราค - กอร์กอน ๖.นาค - ดรากอน ๗.ครุฑ - กริฟฟิน ๘.การเวก - ฟีนิกซ์ ๙.หัสดีลิงค์ - ร็อก ๑๐.พลาหก - เพกาซัส ๑๑.คนธรรพ์ - เอลฟ์ ๑๒.พมน - ดวอฟ ๑๓.วิทยาธร - วิซาร์ด ๑๔.นักสิทธิ์ - ซอร์เซอเรอร์ ๑๕.ชาฑุคร์ - เชมัน ๑๖.เวชภูต - เนโครแมนเซอร์ ๑๗.กุมภัณฑ์ - โอเกอร์ ๑๘.รากษส - โทรลล์ ๑๙.ยักษ์ - ไจแอนต์ ๒๐.หุ่นพยนต์ - โกเลม Bhuta - Fairy
Preta - Undead
Pishaca - Devil
Kinnara - Satyr, Siren etc.
Mahoraga - Gorgon
Naga - Dragon
Garuda - Griffin
Karavika - Phoenix
Hastilinga - Roc
Valahaka - Pegasus
Gandharva - Elf
Vamana - Dwarf
Vidyadhara - Wizard
Siddha - Sorcerer
Jadugara - Shaman
Vejjabhuta - Necromancer
Kumbhanda - Ogre
Rakshasa - Troll
Yaksha - Giant
Vyanta - Golem
ปล.สำหรับกินนร (Kinnara) นั้น เทียบได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Centaur Harpy และอื่นๆ เนื่องจากว่ากินนรเป็นอมนุษย์จำพวกครึ่งคนครึ่งสัตว์ Half-Human, Half-Beast จึงมีแยกย่อยออกมาหลายประเภท รวมไปถึง "นรสิงห์" (Narasimha) ที่ยุโรปเรียกว่า "สฟิงซ์" (Sphinx) ก็แยกออกมาจากกินนรเช่นกัน
หลักฐานกินนรประเภทมฤค (กวาง, เก้ง, เนื้อทราย) ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกเถรวาท Narasimha - Sphinx
RE: เปรียบเทียบเผ่าพันธุ์ในตำนานเทพนิยาย (ตะวันออก - ตะวันตก) - shettawat - 09-24-2020 ส่วนคนแคระ (Dwarf) ชาวอินเดียเรียกว่า "เพาน์" (Bauna) แต่เหตุที่ใช้ "พมน" (Vamana) เพราะว่ามันมีความไพเราะมากกว่า โดยรากศัพท์บาลีเดิมจากพระไตรปิฎกใช้ว่า "วามนํ" อันหมายถึง "คนแคระ" อย่างตรงตัว ซึ่งปกรณัมเริ่มแรกที่บอกเล่าเรื่องราวของ “พมน” (Dwarf) เริ่มต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ ในช่วงราชวงศ์คุปตะของอินเดียเหนือ โดยเล่าในเทพปกรณัมว่าพมนนั้น คือ บริวารของเทพโลกบาลพระนามว่า “ท้าวกุเวร” (Kuvera) ผู้เป็นราชาแห่งยักษ์ ต่อมา พระพุทธศาสนาในยุค "อนุราธปุระ" ของลังกา (ราวพุทธศตวรรษที่ ๘) ได้นำเอารูปของท้าวกุเวรและพมนบริวาร มาใช้เป็น “ทวารบาล” ของศาสนสถาน โดยประดับรูปไว้ตรงปากบันไดหรือทับหลังประตู โดยมีนัยถึงการอำนวยพรให้โชคลาภสักการะ อันได้แก่ความร่ำรวยและมั่งคั่งแก่สาธุชนที่มาทำบุญยังศาสนสถานแห่งนี้ - อ่านเรื่องราวประติมากรรมคนแคระเพิ่มเติมได้ที่ http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2017/07/01/entry-1 และตามคำบอกเล่าของพระสุปฏิปันโนที่ท่านเคยพบเจอพวกภูตแคระในญาณนั้น ท่านว่าพวกนี้ตัวเล็กมาก ขนาดความสูงไม่น่าเกิน ๑๐ นิ้ว (๒๕.๔ เซนติเมตร) ทั้งหญิงทั้งชายล้วนมีหน้าตาเหมือนเรา มีอาการครบ ๓๒ ทุกประการ มีผิวพรรณสวยงาม ใบหน้าได้สัดส่วน มีรอยยิ้มที่สง่างาม และเพียบพร้อมด้วยจรรยากิริยาอันสุภาพ พวกพมนในตำนานนอร์ส
สุดท้ายนี้ พวกพมน (Vamana) หรือดวอฟ (Dwarf) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งในยุคเรอแนซ็องส์ (Renaissance) ว่า "โนม" (Gnome) โดยคนไทยเรารู้จักพวกพมนจากสื่อภาพยนตร์แฟนตาซีหลายๆ เรื่อง เช่น สโนไวต์กับคนแคระทั้งเจ็ด เป็นต้น โนม (Gnome)
RE: เปรียบเทียบเผ่าพันธุ์ในตำนานเทพนิยาย (ตะวันออก - ตะวันตก) - MongonAF48DW - 09-27-2020 มีสาระ RE: เปรียบเทียบเผ่าพันธุ์ในตำนานเทพนิยาย (ตะวันออก - ตะวันตก) - Mysticphoenix - 09-29-2020 ทางตะวันออกนี่ ชื่อไม่คุ้นเลยแฮะ |