Thread Rating:
  • 0 Vote(s) - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
The Stanley Parable : จิตวิทยาแห่งการสร้าง "เกม" - Completed
#1
Lightbulb 
*ผมขออนุญาติเปลี่ยนชื่อบทความจาก "The Stanley Parable : เมื่อเป้าหมาย คือการทำลายเกม" เป็น "จิตวิทยาแห่งการสร้างเกม" นะครับ เพราะดูจากเนื้อหาที่ผมได้ลองพิมพ์จริงๆ แล้ว มันออกไปทางจิตวิทยาซะมากกว่า ผมเคยคิดว่าชื่อนี้น่าจะเหมาะกว่าครับ...

หลังจากเมื่อวาน ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับ The Beginner's Guide ไปแล้ว วันนี้ผมก็เลยอยากลองมาเขียนเกี่ยวกับเกมนี้ The Stanley Parable ด้วย ซึ่งถ้าว่ากันตามตรงแล้ว นี่คือจุดกำเนิดของทั้งเกม The Beginner's Guide และตัว Davey ในฐานะนักพัฒนาเกมด้วย ซึ่งบทความนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Reboot Project เหมือนกัน ที่จะทำให้คนอ่าน นอกจากได้รู้จักเกมใหม่ๆ แล้ว อาจยังได้ไอเดียดีๆ ไปสร้างเกมของตัวเอง และได้รู้ว่า "เกม" มันเป็นได้มากกว่าที่หลายคนคิด

[Image: The-Stanley-Parable-start-screen-640x360.jpg]

The Stanley Parable เปิดตัวด้วยการเป็น mod แจกฟรีของเกม Half-Life 2 ในปี 2011 แต่ด้วยไอเดียเกมอันแสนประหลาด ทั้งเพื่อนๆ ของเขาเองและสังคมจึงเรียกร้องให้เขาสร้างเป็นเกมตัวจริงเลย แล้วเอาออกขายซะ Davey จึง remake เกมออกมาใหม่ และนำออกขายใน Stream ซึ่งต่อมาประสบความสำเร็จอย่างสูง ได้รับคำวิจารณ์ชื่นชมมากมาย มากซะจน Davey แอบเครียดเลย...

ภาพด้านบนคือเมนูหลักของเกม ซึ่งบอกใบ้คนเล่นชัดเจนมากว่า เกมนี้จะเป็นเกมซ้อนเกม ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ มันแหกกฎทุกกฎที่เกมควรมี ทั้งจิกกัด ล้อเลียน วิจารณ์ตลาดเกมทั้งโลก และยังไม่วายหันมาด่าคนเล่นเองอีกต่างหาก แถมยังฮาแบบกวนประสาทเอามากๆ เล่นเอาคนเล่นปวดหัวกันเลยทีเดียว แต่เช่นเดียวกับ The Beginner's Guide ระบบเกมนั้นไม่ซับซ้อน และเล่นง่ายมาก สิ่งที่ผู้เล่นทำได้จีงมีแค่ "เดิน" แต่อย่างไรก็ตาม มันใม่ใช่การเดินเฉยๆ แต่เป็นการเดินที่นำไปสู่ทางเลือกอันหลากหลาย ที่ส่งผลต่อเนื้อเรื่อง และโชคชะตาของเกมทั้งเกม!

เรื่องย่อของเกมนี้มีอยู่ว่า เราจะได้รับบทเป็น Stanley หนุ่ม office คนนึงที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน งานหลักของเขาคือการกดปุ่มบนคีย์บอร์ดตามที่หัวหน้างานของเขาสั่ง ชีวิตของ Stanley เป็นอย่างนี้ทุกวันตลอดหลายปีที่ผ่านมา จนอยู่มาวันหนึ่ง หน้าจอคอมพิวเตอร์ ของเขากลับว่างเปล่า ไม่มีคำสั่งใดๆ ส่งมาจากหัวหน้าของเขาเลย มันเกิดอะไรขึ้น? Stanley จึงเงยหน้าออกจากจอ และออกค้นหาความจริง

ความพิเศษของเกมนี้คือ คนเล่นสามารถเล่นจบได้ภายใน 10 นาที! และฉากจบที่มีมากถึง 18 แบบ!!? เกมจะเต็มไปด้วยทางเลือกมากมายให้คนเล่นคิด มีเสียงพูดบรรยายเรื่อง (Narrator) คอยบอกตลอดเวลาว่าเราควรทำอะไร แต่เรามีสิทธิที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้! ซึ่งตัวเลือกของเรา จะส่งผลต่อเส้นเรื่องของเกมทั้งหมด มันอาจทำให้ Stanley รอดออกไปได้ ตายคาที่ หรือทำเกมทั้งเกมพังไปเลย! แถมในเกมนี้ มันแทบไม่มีคำว่าคิดนอกกรอบครับ เพราะทุกการกระทำของเรา คนสร้างเกมเค้าดักมาหมดแล้ว แม้แต่การยืนนิ่งๆ ก็อาจโดนเกมด่าว่าคิดนานเกิน หรือขึ้ขลาดเอาได้

ในบทความนี้ ผมจะไม่เน้นการเล่าเนื้อเรื่องของเกม แต่จะเน้นไปที่การวิเคราะห์สิ่งที่ฉากจบแต่ละแบบพยายามสื่อกับคนเล่น ใครไม่เคยลอง ลองไปหา Let's play ตาม Youtube ดูครับ หรือจะให้ดี ซื้อมาเล่นเองเลยครับ ผมรับประกันได้เลยว่า คุณจะไม่มีวันลืมเกมนี้ได้อีกเลย...

[Image: 440px-Stanley_parable_flowchart.png]

1. Life/Freedom Ending : อิสรภาพจอมปลอม

ฉากจบนี้ อาจเรียกได้ว่า เป็นฉากจบหลัก (Good Ending) ของเกมก็ได้ เพราะเนื้อเรื่องมันเป็นไปตามที่มันควรเป็นทุกอย่าง แต่ในมุมกลับ คนเล่นที่ได้ฉากจบนี้ ถือว่ากำลังพ่ายแพ้ต่อเกมอย่างสิ้นเชิง เพราะวิธีการเดียวที่จะได้ฉากจบนี้ คือต้องเป็นคนหัวง่าย เกมบอกให้ทำอะไรก็ทำตามไปซะหมด

เนื้อเรื่องของฉากจบนี้ เมื่อ Stanley ออกจากห้องทำงานของตัวเองมา ก็พบว่าทั้งตึกนั้นว่างเปล่า เพื่อนร่วมงานของเขาหายตัวกันไปหมด Narrator จะคอยบอกสิ่งที่เราควรทำตลอดเวลา บอกให้ไปซ้าย ก็ไปซ้าย ต่อมา Stanley ก็มาถึงห้องทำงานของหัวหน้าใหญ่ และค้นพบห้องลับ ที่นำไปสู่ "Mind Control Facility" หรือศูนย์ควบคุมจิตใจ ด้านในมีกล้องวงวรปิดจำนวนมากคอยแอบดูคนที่ทำงานที่นี่ทั้งหมด นั่นหมายถึงตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา Stanley กับเพื่อนๆ โดนหลอกใช้มาตลอด Stenley ยอมไม่ได้ จึงทำการปิดระบบหลักของเครื่องควบคุมจิตใจซะ เพื่อปลดปล่อยตัวเองจากบริษัทอันโหดร้ายแห่งนี้ เมื่อปิดเครื่องลง Stanley ก็พบว่าประตูได้ถูกเปิดออก เขาหนีออกจากตึกมา สู่โลกอันกว้างใหญ่ได้สำเร็จ!

ฉากจบนี้ แม้แต่ Narrator เองก็แอบเยาะเย้ย Stanley ว่าได้เป็นอิสระแล้ว ไม่ต้องถูกควบคุมจิตใจ ทำตามคำสั่งคนอื่นไปวันๆ อีกแล้ว แต่อันที่จริง มันตรงข้ามกันเลย Stanley เองยังทำตามคำสั่งคนอื่นอยู่เหมือนเดิม แตกต่างแค่เปลี่ยนจากหัวหน้าเป็น Narrator ก็เท่านั้น หรือมองให้ลึกลงไปอีก คนเล่นเกมก็ด้วยเช่นกัน ที่ยังไม่ได้รับอิสระภาพจริงๆ เลย เพราะคนเล่นก็ยังนั่งอยู่หน้าจอคอมฯ ควบคุมเมาส์และคีย์บอร์ด ทำตาม script ที่เขียนไว้ในเกมก่อนแล้ว ไม่ได้เงยหน้าจากจอ ออกไปมองโลกที่อยู่นอกหน้าต่างเลย!

[Image: thestanleyparablemain.jpg]

2. Bomb/Explosion Ending : ให้มันรู้บ้างว่าเกมนี้ใครคุม!!

ฉากจบนี้ ต่างจากฉากจบหลักแค่ตรงที่ พอมาถึงตัวเลือกที่จะต้องปิดเครื่องควบคุมจิตใจ Stanley กลับเลือกที่จะเปิดใช้งานมัน เพื่อเป็นผู้ควบคุมบริษัทซะเอง ผลก็คือ มันดันไปเปิดระบบทำลายตัวเอง และขังตัวเขาไว้ ให้ต้องโดนระเบิดตายในห้องนี้! Stanley หาทางกดปุ่มมากมายที่อยู่ในห้อง เพื่อหาทางยกเลิกระบบระเบิดให้ได้ภายใน 3 นาที!

สิ่งที่น่าสนใจของฉากจบนี้คือ มันไม่มีทางหยุดระเบิดได้ ไม่ว่าจะทำอย่างไงก็ตายอยู่ดี ปุ่มทั้งหมดมันมีมาหลอกๆ ให้คนเล่นดีใจก็เท่านั้น แม้แต่ Narrator เอง ก็ยังหัวเราะเยาะคนเล่น ว่าไม่มีทางคุมเกมนี้ได้หรอก แถมยังประชดเพิ่มเวลาให้ เมื่อเวลาใกล้หมดอีก หากคุณไปหาบทสรุปของเกม เพื่อหาทางรอดไปให้ได้ มันก็จะเข้าทางเกมพอดีเลย มันเป็นการเล่นกับความหวังของคนเล่น ว่าทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ แต่ในโลกแห่งความจริงมันไม่ง่ายอย่างงั้นเสมอไป บางทีการยอมแพ้และก้าวต่อไป อาจดีกว่าการจมอยู่กับปัญหาเดิมๆ ก็ได้

3. Museum/Escape Ending : อยากชนะเกมนี้ ก็เลิกเล่นซะ!!?

ฉากจบนี้ ยังอยู่ในทางเดียวกับฉากจบหลัก แต่ก่อนเข้าไปในศูนย์ควบคุมจิตใจ จะมีทางแคบๆ เขียนว่า Escape (หลบหนี) อยู่ ให้เดินไปตามทางนี้ ระหว่างทาง Narrator จะคอยเตือนตลอดว่าทางนี้มันหลอก ไปแล้วตาย แต่ Stanley ก็ยังยืนยันไปต่อ และก็พบว่า Narrator ไม่ได้โกหก! สุดทางนี้จะเป็นรถราง ที่พา Stanley ไปสู่การโดนเครื่องจักรบดจนละเอียด! แต่ก่อนที่เขาจะตาย ทุกอย่างก็หยุดนึ่ง และมี Narrator อีกคนมาแทน และพาคนเล่น (ไม่ใช่ Stanley!) ไปสู่พิพิธภัณฑ์

เราจะได้เดินเล่นในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเกี่ยวกับเกมนี้เอง! ด้านในมีทั้งไอเดียๆ ต่างๆ ที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในเกมจริง, พัฒนาการต่างๆ ของเกม, คำวิจารณ์ของ Version ก่อนหน้า และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเราเดินถึงตอนจบ จะเจอ switch เลือกว่าจะทำลายเกมนี้ดีหรือไม่ Narrator คนใหม่จะพยายามเตือนเราว่า เราไม่มีทางชนะเกมนี้ได้ นอกจากออกจากเกมนี้ไป การเลือกจะเล่นต่อ เพื่อต่อกรกับเกมและ Narrator คนเก่า มันเป็นสงครามจิตวิทยาที่ไม่มีใครชนะ การเล่นต่อเพื่อหาฉากจบอื่นไปเรื่อยๆ มันก็แค่การพา Stanley ไปตายแบบอื่นๆ ก็เท่านั้น หากคนเล่นไม่ฟัง เลือกที่จะทำลายเกม คนเล่นก็จะกลับไปเป็น Stanley อีกครั้ง และถูกเครื่องจักรบดตายอย่างอนาถ และเกมก็ restart อีกครั้ง ...สู่จุดจบที่ไม่มีวันจบ (The end is never the end is never...)

[Image: 2013-12-16_00006.jpg]

4. Escape Pod Ending : หนีไป เกมก็พังดิ!

ฉากจบนี้ถือว่าเป็นฉากจบที่ทำยากที่สุดเลยฉากหนึ่ง Stanley ต้องรีบเข้าไปในที่ทำงานหัวหน้า และรีบออกมาก่อนประตูปิด เดินย้อนกลับไปหาห้องทำงานตัวเอง จะเจอประตูนึงเปิดอยู่ ซึ่งนำไปสู่ Escape Pod ที่ทำให้ Stanley หนีออกจากตึกได้ แต่ปัญหาคือ การจะทำให้มันทำงาน Stanley ต้องเข้าไปพร้อมกับ Narrator ซึ่งแน่นอนว่าเขาไม่ยอมให้ Stanley ไปไหนอยู่แล้ว ทำให้เกม Restart อีกรอบ...

ฉากจบนี้ เล่นกับประเด็นขององค์ประกอบเกม เมื่อหน้าที่ของ Narrator คือการพากย์เกมให้ Stanley ทำตาม หาก Stanley หนีออกไปคนเดียว เกมนี้ก็จะขาดตัวละครหลัก ทำให้เกมเล่นไม่ได้ การมีอยู่ของ Narrator ก็ไร้ประโยชน์ ฉากจบนี้เป็นการบอกใบ้ถึงตัวการเบื้องหลังที่แท้จริงของเกม ที่ไม่ใช่ Narrator แต่เป็นคนสร้างเกมเลยต่างหาก

5. Insane/Mariella Ending : สงสัย - สับสน - เสียสติ

ฉากจบนี้เกิดขึ้นก่อนจะไปถึงห้องทำงานหัวหน้า แต่พอเจอบันได แทนที่จะขึ้นไปหาหัวหน้าตรงๆ Stanley กลับกลัวโดนหัวหน้าด่า และเดินหนีลงบันไดไปแทน แต่ Stanley กลับไปติดอยู่ใน loop (วังวน) ของโถงทางเดินเดิมๆ ที่ไม่มีทางออก Stanley เริ่มสงสัยว่าจริงๆ แล้วตัวเองอาจฝันอยู่ เขาพยายามหลับตา แล้วลืมตาใหม่ แต่ก็ไม่สำเร็จ ความพยายามอื่นๆ ก็ไม่เป็นผล เขาสับสนทำอะไรไม่ถูก สุดท้าย Stanley ก็กรีดร้องอย่างคนเสียสติ และสลบลง ต่อมา เกมก็เปลี่ยนมุมมองไปที่ความคิดของ Mariella ผู้หญิงที่มาพบศพของ Stanley นอนตายอยู่บนทางเท้า

ฉากจบนี้ค่อนข้างแปลกแตกต่างจากฉากจนอื่นๆ เพราะเนื้อเรื่องมันเข้มข้นออกไปในแนวหนังจิตวิทยา (Psychological Thriller) เนื้อเรื่องโฟกัสไปที่ Stanley กับความรู้สึกที่เขามีต่อเกม ว่าทำไมเขาถึงติดอยู่ในเรื่องราวซ้ำๆ ทำไมถึงมี Narrator คอยบรรยายทุกสิ่งที่เขาทำ ทั้งหมดเป็นเพราะ Stanley ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นตัวเอกของเกม เขากำลังคิดแบบคนธรรมดาคนหนึ่งอยู่ สุดท้ายความสงสัยของเขา จึงนำเขาไปสู่การเสียสติ ซึ่งว่ากันตามตรงแล้ว คนที่ทำให้ Stanley เป็นบ้า ก็คือเรา ผู้เล่นนี่เอง...

[Image: 328410028.jpg]

6. Reluctant/Coward Ending : การหนีปัญหามันไม่ช่วยอะไร

ฉากจบนี้เรียกว่าทำง่ายที่สุดในบรรดาฉากจบทั้งหมดเลยก็ว่าได้ เพราะทั้งหมดที่ต้องทำ คือปิดประตูขังตัวเองในห้องทำงาน! เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของ Stanley ว่า จะออกไปเสี่ยงข้างนอกให้ลำบากทำไม เดี๋ยวก็มีคนมาบอกเองแหละว่าเกิดอะไรขึ้น แค่รออยู่เฉยๆ ก็พอ ไม่เห็นต้องหาเรื่องให้ตัวเองเหนื่อยเปล่าเลย แต่สุดท้าย แน่นอนว่าการรอไม่ช่วยอะไร หลังจากรอได้ไม่นาน เกมก็ restart ให้ Stanley ได้มีโอกาสตัดสินใจอีกรอบ ฉากจบนี้เหมือนเป็นการเปรียบเทียบเกมกับชีวิตคนจริงๆ มันง่ายกว่าที่จะหนีปัญหา รอให้คนอื่นมาช่วย ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร แต่โลกแห่งความจริงมันไม่ได้เป็นแบบนั้น

7. The Out-of-bounds/Window Ending : เมื่อ Glitch กลายเป็นส่วนหนึ่งของเกม

เกมนี้ คนเล่นจะสังเกตได้ว่า Stanley กระโดดไม่เป็น แต่ในตึก กลับมีหน้าต่างบานหนึ่งเปิดอยู่ แต่แน่นอนว่า Stanley กระโดดออกนอกหน้าต่างไปไม่ได้ แต่เกมกลับมี bug ที่ทำให้เขาสามารถไต่เก้าอี้และคอมพิวเตอร์ในสำนักงานได้ สุดท้าย Stanley จึงกระโดดหนีออกทางหน้าต่างได้สำเร็จ และพบว่าตัวเขาได้มาอยู่นอก map เรียบร้อยแล้ว เขาทำลายเกมได้สำเร็จ!

มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือ? แน่นอนว่าไม่ Stenley ยังคงโดน Narrator ตามมาด่าตามเคย Narrator ด่า Stenley (แต่ตั้งใจกระทบคนเล่น) ว่าที่ออกมา ก็แค่อยากหาฉากจบอื่นๆ อยากทำลายเกมให้ได้ แต่ก็ทำไม่สำเร็จ Narrator ตั้งคำถามขึ้นมาตรงๆ ว่า "เบื่อกับมุขแบบนี้แล้วรึยัง?" ซึ่งถ้าเราตอบไม่ Narrator ก็จะพล่ามของเขาต่อไปเรื่อย ว่าเคยสงสัยบ้างมั้ย ว่าถ้าตอบใช่ ฉากจบนี้จะออกมาเป็นอย่างไง ลอง restart เกมแล้วเข้ามาที่นี่ใหม่อีกรอบดูซิ จะได้รู้ ซึ่งถ้าผู้เล่นทำตาม และตอบใช่ Narrator ก็จะแต่งเพลงให้ Stenley แล้วร้องเพลงล้อเลียนให้ Stenley ฟังอย่างมีความสุข เพื่อดูว่า Stenley จะทนฟังได้นานแค่ไหน จุดเด่นของฉากจบนี้ คือ มันจะไม่ restart อัตโนมัติ ต้องรอให้คนเล่นกดเอง เพื่อทดสอบความอดทนของคนเล่น

มีเกมน้อยมาก ที่จะนำ bug มาเป็นส่วนหนึ่งของเกมอย่างนี้ เราเชื่อมาตลอดว่าเกมที่ดีต้องปลอด bug ซึ่งมันถูกต้อง แต่กฎข้อนี้กลับใช่ไม่ได้กับเกมนี้ เพราะ bug ได้ถูกปรับแต่งให้กลายเป็น feature ของเกมไปเสียแล้ว...

[Image: latest?cb=20140116131935]

8. Whiteboard Ending : รางวัล สำหรับคนเล่นเกมมานาน

สิ่งนึงที่ผมยังไม่ได้พูดถึงในเกม คือเรื่องของ map ในเกม ที่มีการเปลี่ยนไปมาตลอดเวลาทุกครั้งที่เรา restart เกม บางทีการเดินไปเจอประตูซ้าย-ขวา อาจต้องเดินเลี้ยวไปมาหลายนาทีกว่าจะเจอ แต่บางทีก็เป็นทางตรงไปเจอเลย แถมสีกำแพง พื้น จำนวนคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน ก็เปลี่ยนไปมาตลอดด้วย หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น คือการที่พื้นทั้งหมดกลายเป็นสีฟ้า คอมพิวเตอร์ทั้งหมดหายไป และหนึ่งในห้องข้างๆ ของ Stanley ก็กลับเปิดได้ และเจอกับกระดานขาวในรูปด้านบน

ฉากจบนี้ เป็นการเข้าใจตัวเกมของคนสร้างเกม ที่เข้าใจว่าคนเล่นต้องเล่นกับฉากเดิมๆ ซ้ำๆ ที่อาจน่าเบื่อ จึงทำการเขียน script ให้ map ของเกมมันเป็นแบบสุ่ม คนเล่นจะได้ไม่เบื่อ แต่แค่นั้นยังอาจไม่พอ คนสร้างเกมเลยใส่กระดานขาวนี้มาอีกด้วยเพื่อเอาใจคนเล่น มันเป็นรางวัลที่แอบซ่อนในเกม (Easter Eggs) ที่ทำให้คนเล่นรู้สึกดีใจ ระหว่างเนื้อเรื่องหลัก

9. Broom Closet Ending : ต้องเทพจริงๆ ถึงจะได้ฉากจบนี้

ฉากจบนี้ ก่อนจะไปถึงบันได ที่พาไปสู่ห้องทำงานหัวหน้า จะมีห้องเก็บของอยู่ ให้เข้าไปยืนเฉยๆ ด้านใน ก็เป็นอันเสร็จ! ฉากจบนี้ไม่อาจเรียกว่าเป็นฉากจบได้จริงๆ เพราะมันไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย มันมีที่มาจากคำประชดของ Narrator ที่ด่าคนเล่นว่า จะยืนอยู่ในนี้อีกนานแค่ไหน ห้องเก็บของเล็กๆ นี่มันมีอะไรน่าสนใจนักหนา ตัวเลือกอะไรก็ไม่มี หรือคุณอยากจะอวดเพื่อนว่า "เฮ้ยเธอ เคยได้ฉากจบห้องไม้กวาดในเกมนี้ยัง แม่ของคุณโครตเจ๋งเลยหว่ะ เราชอบฉากจบนี้สุดละ" หรืออย่างไง เพื่อนคุณคงเชื่อคุณหรอก... และหากคนเล่นพยายามเข้าไปอีกในรอบอื่นๆ Narrator จะทำการเอาไม้มาตอกปิด คนเล่นจะได้เลิกกวนประสาทเขาซะที

ฉากจบนี้ มันเป็นพูดถึงสังคมการเล่นเกม ที่บางทีมันก็ไม่ได้แค่เล่นให้สนุกคนเดียว แต่เป็นการเล่นแล้วเอาไปอวดเพื่อนด้วย ซึ่งถึงจะดูเหมือนไร้สาระ แต่มันก็เป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้เกมธรรมดาๆ เกมหนึ่ง เป็นที่รู้จักในตลาดเกมมากขึ้น หรือมองอีกมุม มันตรงข้ามกับ Whiteboard Ending เพราะนี่คือการประชดคนเล่นเกม ที่ชอบหาสิ่งต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในเกม (Easter Eggs hunt) หรือการเก็บรางวัล (Trophies / Achievements) แต่ตั้งใจเกินเหตุซะจนลืมว่าเป้าหมายจริงๆ ของเกมมันคืออะไร

[Image: 46wsMmkzePo.jpg]

10. Serious Ending : เพื่อเอาชนะ แม้ต้องโกงก็ยอม ...อย่างนั้นเหรอ ?

ฉากจบนี้เหมือนจะทำง่าย แต่ก็ยากอยู่ ถ้าผู้เล่นไม่มีความรู้เรื่อง Source Code ในการสร้างเกมและคำสั่งต่างๆ การจะทำให้เกิดฉากจบนี้นั้น คนเล่นต้องเปิด Console Commander ของเกมขึ้นมาก่อน แล้วพิมพ์ sv_cheats 1 ลงในคำสั่งเกม เมื่อทำเสร็จ คนเล่นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยัง Serious Room ตามรูปด้านบน ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ ห้องสืบสวนสอบสวนในโรงพัก

Narrator ด่าคนเล่นตรงๆ เลยว่าไม่ให้ความเคารพเกมเอาซะเลย เอะอะก็จะเอาชนะ ไปให้ถึงตอนจบอย่างเดียว ไม่สนใจว่าการทำอย่างนี้ มันขัดกับจุดประสงค์ของเกม มันทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมทั้งเกมมันพัง ฉากจบนี้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์คนเล่นเกมทั้งหลาย ที่ชอบหาวีธีโกงเกมสารพัด เช่น เอะอะก็เปิดบทสรุปดูโดยไม่คิดหาทางเองก่อน, ใส่ trainer ให้เกมมันง่ายขึ้น, สร้าง bot เก็บเวลล์ให้โดยไม่ต้องเสียเวลาเล่นเอง, เติมเงินเข้าเกมให้ตัวละครตัวเองเหนือกว่าคนอื่น ซึ่งอาจรวมถึงการโหลดเกมเถื่อน แล้วอาศัย crack เอา เพื่อจะสนุกไปกับเกมได้ โดยไม่ต้องเสียตังค์ซักบาท โดยหารู้ไม่ว่า คนสร้างเกมเค้าลงทุนลงแรงกับเกมไปแค่ไหน การโกงเกมทำให้ script ต่างๆ ที่คนสร้างเกมตั้งใจทำมา เพื่อประสบการณ์การเล่นที่ดีที่สุดของคนเล่น ถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิง

11. Heaven Ending : สรวงสวรรค์ของคนสร้างเกม

ฉากจบนี้ เรียกได้ว่ายากที่สุดในฉากทั้งหมดเลยก็ได้ เพราะ Stanley ต้องออกตามหาคอมพิวเตอร์ที่หน้าจอเปิดอยู่เพื่อรับ Input ในบรรดาคอมฯ นับร้อยในสำนักงานของเขา และป้อนคำสั่งลงในคอมฯ ตัวนั้น ซึ่ง คอมฯ แบบนี้ ในหนึ่งรอบการเล่น จะมีเครื่องเดียวเท่านั้น ทำให้คนเล่นต้อง restart เกมถึง 5 รอบ เพื่อตามหาคอมฯ ทั้งหมด ซึ่งเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ในแต่ละรอบ เมื่อหาครบทั้ง 5 เครื่องแล้ว Stanley ก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยัง "สวรรค์" ที่เต็มไปด้วยปุ่มกดมากมายหลากสีนับร้อย

ทำไมสววรค์ถึงมีแต่ปุ่มกด? เพราะนั้นคือทั้งหมดที่ Stanley และคนเล่นทำทั้งหมดในเกม กดปุ่มไปเรื่อยๆ สววรค์เลยมีปุ่มมากมาย เป็นตัวแทนของทางเลือกจอมปลอมที่ไม่มีที่สิ้นสุด หลังจากฉากจบ Serious Room ที่ผ่านมา ซึ่งด่าคนเล่นแรงๆ มาแล้ว คราวนี้ก็ถึงตาคนสร้างเกมบ้าง! บ่อยครั้งที่คนเล่นไม่ได้อยากโกงเกม แต่เกมออกแบบมาให้คนเล่นโกงโดยเฉพาะ ฉากจบ Bonus ที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คนเล่นธรรมดาๆ จะหาเจอได้โดยไม่ผ่านการใช้บทสรุป ระบบเกมที่ออกแบบมาให้คนเล่นเติมตังค์ให้เก่งขึ้น ซึ่งมันทำลายความสมดุลย์ของเกม แต่คนสร้างก็ไม่สนใจ เพราะอยากได้เงินจากผู้เล่นมากๆ ซึ่งทั้งสองฉากจบนี้จะสรุปได้ว่า การตลาดของเกม มันก็เหมือนตลาดการค้าทั่วไป ที่ทั้งสองฝ่ายต้องปรับตัวเข้าหากัน หาทางที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่จะหวังเงิน หวังผลประโยชน์ใส่ตัวกันอย่างเดียวเลย

[Image: tumblr_mz0i31bVpw1qbgx8ao4_500.png]

12. Confusion Ending : เมื่อเกมถูก Spoil เส้นเรื่องก็ถูกทำลาย

นี่เป็นฉากจบที่ยาวที่สุดเลยก็ว่าได้ และยังเป็นฉากจบเดียว ที่คนเล่นและ Narrator ต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหาความอยากรู้อยากเห็นเกินเหตุของ Stanley ที่ดันเดินไปเจอศูนย์ควบคุมจิตใจ ก่อนจะถึงห้องหัวหน้า ทำให้เส้นเรื่องที่เกี่ยวกับหัวหน้าที่แอบสะกดจิตลูกน้อง พังยับเยินไปเลย

Narrator ตกใจกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะมันไม่ได้อยู้ในบทพูดที่เกมให้มา เขางงว่าจะไปทางไหนต่อดี แต่เขาก็พยายามหาทางออกจนได้ ด้วยการให้ Stenley ลืมเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้น และ restart เกมใหม่ หวังว่าทุกอย่างก็จะกลับไปเป็นเหมือนเดิม แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้น เกมมันพังไปแล้ว! จากตัวเลือกประตูซ้าย-ขวา ตอนนี้ก็กลายเป็นประตูมากมายที่วกวนไปมา จน Narrator ต้องสั่ง restart เกมอีกครั้ง ต่อมารอบนี้ เกมมันนำไปสู่บ้านไม้ที่ยังสร้างไม่เสร็จ ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่องเลย Narrator เลย restart เกมอีกครั้ง ต่อมา Narrator มีวิธีแก้ปัญหาใหม่ ด้วยการสร้าง The Stanley Parable Adventure Line™ หรือเส้นเรื่องนั่นเอง ซึ่งเป็นเส้นจริงๆ เลย ทำจากสีเหลืองป้ายไปตามพื้นให้ Stanley เดิมตาม จะได้ไม่ออกนอกลู่นอกทางอีก แต่มันก็ไม่เป็นผล เมื่อเส้นไม่ยอมอยู่แค่ที่พื้น มันวนไปมาเรื่อยเปื่อย (ดังภาพด้านบน) Narrator ทำอะไรไม่ถูก จึงจำยอม restart เกมอีกครั้งเป็นรอบที่ 4

ครั้งสุดท้ายนี้ ทางเดินอันวกวนที่จะพา Stanley ไปตามหาเนื้อเรื่องที่แท้จริง ก็มาถึงจุดหมายจนได้ แต่จุดหมายนั้น กลับไม่ใช่อย่างที่คิด Stanley พาผู้เล่นไปพบกับบทสรุปของฉากจบนี้ ว่าเกมต้อง restart ทั้งหมด 8 รอบ และเนื้อเรื่องจะดำเนินไปจนกว่า Stanley หรือ Narrator จะตายกันไปข้างนึง Narrator เห็นคำอธิบายก็ไม่พอใจ และไม่ยอม restart เกมอีก เพราะมันจะไปตรงกับบทสรุปพอดี จากนี้ก็เกิดเสียงเตือนดังลั่น เกมมัน restart ด้วยตัวเอง เพื่อหยุดการทำลายตัวเกมเองของฉากจบนี้

หากใครเคยอยากดูหนังหรือเล่นเกมซักเกม ที่มีตอนจบที่หักมุมมาก แต่กลับโดน spoil เสียก่อนจนหมดอารมณ์จะดู ฉากจบนี้วาดภาพให้เห็นชัดมากถึงสิ่งที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังทำให้เห็นอีกว่า Narrator ไม่ใช่คนคุมเกม แต่เป็นคนสร้างเกม (Davey) ต่างหากที่ควบคุมทุกอย่าง และยังเป็นคน restart เกมในรอบที่ 5 อีกด้วย มองในอีกมุมนึง "คุณ" ใช่ครับ คุณที่กำลังอ่านบทความผมอยู่นี่แหละ คุณได้ถูก spoil เกมนี้ไปเรียบร้อยแล้ว การไปเล่นจริงๆ อาจไม่สนุกเท่ากับคนที่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเกมเลยอีกต่อไปแล้ว....

เครดิต
Stream, Wikipedia, Stanley's Wikia
[-] The following 13 users say Thank You to TimeKnight for this post:
  • arkman, clashlucifer, dreamknight, freemancer, Goddiga, Ivan_GilDong, jin, jojo741963, [IRPG] Kuntana, LuZi, slost, splendith, นิราจ
Reply
#2
โอ้วว สุดยอดเหมือนเดิมครับ /puke
เริ่มนับถือ Davey ขึ้นมาแฮะ หมอนี่อัจฉริยะจริงๆ

//ปูเสื่อรอพาร์ทต่อไป

 "กาก"
[Image: bujuroll.gif] แอดเพื่อน Steam จิ้มแรงๆเลย >>> [Image: AddFriend.png]
[Image: 76561198091389336.png]




[-] The following 2 users say Thank You to slost for this post:
  • Goddiga, TimeKnight
Reply
#3
อ่านจนจบเลยเนื้อหาดีจริงๆแล้วก็เขียนสื่อออกมาได้ดีด้วยครับ แนวคิดแต่ละเกมของคนนี้เจ๋งมากอะตั้งแต่อันที่แล้วแล้ว
[Image: YmmHxpk.png]

เพจแปลเกม RPG Maker และเกมอินดี้ต่าง ๆ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และพยายามเป็นศูนย์รวมวงการ RPG Maker ด้วยเช่นกัน มีทั้งข่าวสารเกม, ทำการ์ตูน, วาดแฟนอาร์ท, ทำเกมเอง, แปลและส่งออกเกมไทยไปเว็บนอก และอื่น ๆ


[-] The following 1 user says Thank You to Goddiga for this post:
  • TimeKnight
Reply
#4
เคยเล่นเกมนี้นะ รู้ว่าเกมดีมากๆ แต่ก็มีกำแพงด้านภาษากั้น T_T
เลยเล่นแล้วไม่ค่อยอิน

พอได้อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่า
ถ้าตอนเล่นอยู่ฟังออกนี่ คิดว่าตัวเองต้องเครียดเป็นบ้าไม่ต่างกัน Stanley แน่ๆ = ="

รอติดตามจนจบนะคร้าบ
อยากอ่านมากกกกกกกกก
[-] The following 2 users say Thank You to splendith for this post:
  • Goddiga, TimeKnight
Reply
#5
ตอนนี้เขียนเสร็จสมบูรณ์แล้วนะครับ... ติดตามอ่านกันได้เลย ^^ ผมรวมไว้ที่เดียวหมดแล้ว
มีความคิดเห็น หรืออยากแนะนำอะไร โพสไว้ได้เลยนะครับ...
[-] The following 4 users say Thank You to TimeKnight for this post:
  • dreamknight, Goddiga, slost, splendith
Reply
#6
ผมไม่เคยคิดถึงเกมนี้ในแง่นี้เลยนะเนี่ยผมไปตีความเรื่องปมของคนบ้างานที่ถูกขังอยู่ในกรอบเดิมๆ
จนเสียสติเห็นโลกเป็นเกมผจญภัยที่เขาได้แหกกฏเกณฑ์และได้มีเสรีภาพซะมากกว่า

ผมเชื่อว่าฉากจบที่มีพูดถึงครอบครัวแสตนลี่แตกสลายจนฆ่าตัวตาย+ฉากจบสแตนลี่เป็นบ้าข้างถนน คือเหตุการหลักนะ
ที่เราเล่นที่เหลือคือความฝันของสแตนลี่ระหว่างอยู่ในภาวะโคม่าหลังฆ่าตัวตายล้มเหลว
(ไม่ก็ภาพหลอนที่ขังวิญญาณสแตนลี่ให้ไม่ติดอยู่ในบ่วงไปตลอดกาลหลังฆ่าตัวตายสำเร็จ)

แสตนลี่ย์ที่อยู่ในภาวะโคม่า(หรือเป็นผีติดอยู่ในภาพหลอนของตัวเอง)
ก็จะเกียกตะกายโหยหาอิสรภาพที่เขาไม่เคยได้รับไปตลอดกาล

ส่วน Freedom Ending คือสิ่งที่สแตยลี่ย์ต้องการ สิ่งที่สแตนลี่ไฝ่ฝันแต่ไม่มีวันได้รับ

สวรรค์ปุ่มผมมองว่าเป็นความต้องการอีกด้านของสแตนลี่ ความต้องการความมั่นคงจนบ้างานเกินขอบเขต
ความต้องการความมั่นคงเพราะสแตนลี่รู้ตัวว่าเขา ทำสิ่งอื่นไม่ได้นอกจากกดปุ่มตามคำสั่ง
การกดปุ่มเป็นสิ่งเดียวที่เขาทำเป็น เขาไม่จำเป็นต้องคิดถึงลูกเมีย เขาไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องความไฝ่ฝันถึงเสรีภาพ
เวลาที่แสตนลี่เข้าสู่โหมดทาส เขาไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น

ถึงแม้สแตนลี่จะต้องการเสรีภาพ แต่เขาก็ไม่เหลืออะไรอีกแล้วให้ยึดเหนี่ยวนอกจากปุ่ม
การที่สแตนลี่จะได้เสรีภาพจากปุ่มนั้น ไม่ต่างจากการปล่อยปลาวาฬเคย์โกะกลับสู่ทะเล
สแตนลี่ ไม่สามารถอยู่โดนปราศจากกรงขังที่เรียกว่าการกดปุ่มได้อีกแล้ว

มันสายเกินไปแล้วสำหรับเขา แต่ยังไม่สายเกินไปสำหรับคนเล่น
คนเล่นที่ยังไม่เป็นบ้าแบบสแตนลี่ ยังมีโอกาสถอยกลับได้
ลดเวลาอยู่กับคอม เพิ่มเวลาอยู่กับผู้คน หัดพักผ่อน หัดออกไปดูโลกภายนอก ก่อนที่คุณอยู่อย่างโดดเดี่ยวและสูญเสียทุกอย่างแบบสแตนลี่
(ผมเชื่อว่าเป็นเมสเสจที่คนทำเกมต้องการสื่อถึงผู้เล่นนะ)
[-] The following 3 users say Thank You to cdaz for this post:
  • Goddiga, Mysticphoenix, TimeKnight
Reply


Forum Jump:


Users browsing this thread: 1 Guest(s)