04-05-2017, 09:38 PM
บทที่1
ทำความคุ้นเคยกับตัว Editor ของ Unity
ในบทนี้เราจะมาทำความรู้จักกับตัว Editor ของ Unity กันนะครับ
ทำความคุ้นเคยกับตัว Editor ของ Unity
ในบทนี้เราจะมาทำความรู้จักกับตัว Editor ของ Unity กันนะครับ
Unity Launcher
เมื่อเปิดโปรแกรม Unity ขึ้นมา หลังจากทำการล็อคอินเข้าสู่ระบบ และเลือก License แล้วจะปรากฎหน้าต่าง คล้ายๆกับรูปด้านล่างนี้
จากรูปจะสังเกตว่าเราสามารถบันทึกโปรเจคเกมของเราไว้บน Cloud ได้ด้วย ส่วนการสร้างโปรเจคใหม่นั้น ให้คลิกที่ปุ่ม New ด้านบนขวาของหน้าต่าง
การสร้างโปรเจคใหม่
หลังจากคลิก New แล้วหน้าต่างจะเปลี่ยนมาเป็นหน้าให้เราสร้างโปรเจคใหม่ ซึ่งเราสามารถเลือกว่าจะสร้างเป็น 3D หรือ 2D ล้วน (ถ้าสร้างผสมควรเลือกเป็น 3D) รวมถึงตั้งชื่อโปรเจคและตำแหน่งที่ตั้งของโปรเจคเกมของเราอีกด้วย จากนั้นกด create project ตัว Unity Launcher จะเปิดหน้สต่าง Editor ให้
รู้จักกับตัว Editor ของ Unity
เมื่อเราสร้างโปรเจคเกมใหม่ หรือเปิดโปรเจคเกมที่สร้างไว้แล้ว ผ่าน Unity Launcher หน้าต่าง Editor ของ Unity จะถูกเปิดขึ้นมา โดยจะมีลักษณะคล้ายๆภาพด้านล่าง (เนื่องจากหน้าต่างย่อยใน Editor สามารถโยกย้ายไปมาได้ ดังนั้นในภาพด้านล่างนี้อาจจะไม่เหมือนกับตอนเปิดใช้ครั้งแรกจริง)
สำหรับบทนี้จะขออธิบายส่วนประกอบใน Editor เพียง 12 ส่วนนะครับ
1.Scene
เป็นส่วนสำหรับจัดการกับแผนที่หรือ Scene ในเกมนั่นเอง เช่น การจัดวางตำแหน่งของโมเดลตัวละครหรือสิ่งของต่างๆ รวมถึงการวาดพื้นผิวภูมิประเทศ(terrain) เป็นต้น
เป็นส่วนสำหรับจัดการกับแผนที่หรือ Scene ในเกมนั่นเอง เช่น การจัดวางตำแหน่งของโมเดลตัวละครหรือสิ่งของต่างๆ รวมถึงการวาดพื้นผิวภูมิประเทศ(terrain) เป็นต้น
1.1เครื่องมือปรับแต่งการแสดงผล
เป็นเครื่องมือสำหรับปรับแต่งการแสดงผลภาพใน Scene (ไม่ใช่ในเกม) เช่นต้องการให้ Scene แสดงโมเดล เป็น Wireframe(โครงร่าง) เท่านั้น หรือ แสดงแบบมี shader ก็สามารถปรับได้จากเครื่องมือนี้
แสดงผลแบบ Wireframe |
---|
แสดงผลแบบมี Shader |
---|
1.2เครื่องมือสลับโหมดการแสดงผล
เป็นเครื่องมือสำหรับสลับโหมดการแสดงผลระหว่าง 2D กับ 3D ซึ่ง 2D โหมด สำหรับเกมสามมิตินั้น เหมาะสำหรับใช้ในการจัดวางพวก GUI ต่างๆในเกม เช่น แถบคำสั่งในเมนูเริ่มเกม เป็นต้น
2D Mode |
---|
3D Mode |
---|
1.3แถบเครื่องมือ
หากสังเกตหน้าบนของหน้าต่าง Scene จะเห็นแถบเครื่องมือด้านบน ในบทนนี้จะขออธิบายเพียง 4 เครื่องมือที่ใช้บ่อยๆ (เครื่องมือที่ 5 ยังไม่ใช้เลย )
1.3.1เครื่องมือเลื่อนตำแหน่งจอ | 1.3.2เครื่องมือเลื่อนตำแหน่งวัตถุ | 1.3.3เครื่องมือปรับองศาวัตถุ | 1.3.4.เครื่องมือปรับขนาดวัตถุ |
---|---|---|---|
ใช้สำหรับเคลื่อนไปยังจุดต่างๆในฉาก | ใช้สำหรับเลื่อนวัตถุไปยังตำแหน่งที่ต้องการในฉาก |
ใช้สำหรับหมุนวัตถุไปในองศาต่างๆที่ต้องการ |
ใช้สำหรับย่อหรือขยายวัตถุให้ใหญ่หรือเล็กตามต้องการ |
2.Asset Store
เป็นส่วนที่เราสามารถดาวน์โหลด Asset ต่างๆเช่น Script, โมเดล หรือ Plugin สำหรับ Editor มาใช้กับโปรเจคเกมของเราได้ โดยมีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน เมื่อกดโหลด Asset จากหน้าต่างนี้ ตัว Asset จะถูกโหลดมาเก็บไว้ในโหลเดอร์โปรเจคของเราเลย
3.Animator
เป็นส่วนสำหรับจัดการ Animation ให้โมเดลของเรา โดยส่วนนี้จะเป็นการจัดการกับความสัมพันธ์ระหว่าง Animation
เช่น "จาก Animation ยืนนิ่ง สามารถเปลี่ยนไปเป็น Animation ถูกโจมตี ได้
ซึ่งจะต้องมีการลากเส้นเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 Animation นี้ด้วย" เป็นต้น
โดยข้อมูลความสัมพันธ์นี้จะถูกบันทึกไว้ใน Animation Controller ซึ่งจะขอพูดถึงในภายหลังนะครับ
5.Hierarchy (ข้าม 4 ไปก่อนนะ จะไปอธิบายที่ 9 เลย)
เป็นส่วนแสดงวัตถุต่างๆในฉาก ในรูปแบบของรายการ โดยมีการเรียงลำดับชั้น
เช่น "จาก รูปด้านล่าง วัตถุ Player มีวัตถุ Mesh อยู่ภายใน แสดงว่า วัตถุ Mesh นั้นมีลำดับชั้นต่ำกว่า วัตถุ Player หากวัตถุ Player มีการเคลื่อนที่ วัตถุ Mesh จะเคลื่อนที่ตามไปด้วย" เป็นต้น
6.Inspector
เป็นส่วนแสดงคุณสมบัติของสิ่งที่เราคลิก ซึ่งหน้านี้จะแสดงผลแตกต่างกันออกไป ดังเช่นตัวอย่างในรูปด้านล่างนี้
เมื่อคลิกวัตถุในฉาก | เมื่อคลิกที่โมเดล |
---|---|
จะแสดง Component หรือ ส่วนประกอบต่างๆของวัตถุนั้นๆ (จะอธิบายอีกทีในบทถัดไป) |
จะแสดงรายละเอียดของโมเดลนั้นๆ รวมถึง Animation ในตัวโมเดล |
7.Service
เป็นส่วนสำหรับจัดการ Service ต่างๆที่ Unity ในบริการ (ดังที่กล่าวไว้ในบทนำ)
8.Project
เป็นส่วนสำหรับจัดการไฟล์ต่างๆในโปรเจค ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์ Script, โมเดล, texture และอื่นๆ รวมถึงโฟลเดอร์ต่างๆด้วย
9.Game
เป็นส่วนแสดงผลเกม เมื่อทำการทดสอบเกม โดยสามารถกดทดสอบเกมได้ที่แถบเมนูในข้อ 4
10.Animation
เป็นส่วนจัดการ Animation ในเกม โดนส่วนนี้จะเป็นการจัดการคีย์เฟรมต่างๆ ซึ่งไม่ขอลงรายละเอียดในบทนี้
11.Audio Mixer
เป็นส่วนจัดการระบบเสียงในเกม ซึ่งไม่ขอลงรายละเอียดในบทนี้
12.Console
เป็นส่วนแสดงผลข้อความเตือนเมื่อเกิดข้อผิดพลาดกับตัวเกม โดยมากมักจะเป็นปัญหาจาก Script นอกจากนี้ยังใช้แสดงผลข้อความต่างๆเพื่อการทดสอบได้อีกด้วย
ในบทนี้ก็ขอฝากไว้เพียงเท่านี้ แล้วพบกันบทหน้าครับ