irpg Community
บทที่ 1 ทำความคุ้นเคยกับตัว Editor ของ Unity - Printable Version

+- irpg Community (https://irpg.in.th)
+-- Forum: irpg Other Game Engines School (https://irpg.in.th/forum-47.html)
+--- Forum: Others (https://irpg.in.th/forum-48.html)
+--- Thread: บทที่ 1 ทำความคุ้นเคยกับตัว Editor ของ Unity (/thread-3067.html)



บทที่ 1 ทำความคุ้นเคยกับตัว Editor ของ Unity - XthemeCore - 04-05-2017

บทที่1
ทำความคุ้นเคยกับตัว Editor ของ Unity

ในบทนี้เราจะมาทำความรู้จักกับตัว Editor ของ Unity กันนะครับ


Unity Launcher
เมื่อเปิดโปรแกรม Unity ขึ้นมา หลังจากทำการล็อคอินเข้าสู่ระบบ และเลือก License แล้วจะปรากฎหน้าต่าง คล้ายๆกับรูปด้านล่างนี้

[Image: image-9AE0_58E4EF3F.jpg]

จากรูปจะสังเกตว่าเราสามารถบันทึกโปรเจคเกมของเราไว้บน Cloud ได้ด้วย ส่วนการสร้างโปรเจคใหม่นั้น ให้คลิกที่ปุ่ม New ด้านบนขวาของหน้าต่าง

การสร้างโปรเจคใหม่
[Image: image-47B2_58E4EF3F.jpg]
หลังจากคลิก New แล้วหน้าต่างจะเปลี่ยนมาเป็นหน้าให้เราสร้างโปรเจคใหม่ ซึ่งเราสามารถเลือกว่าจะสร้างเป็น 3D หรือ 2D ล้วน (ถ้าสร้างผสมควรเลือกเป็น 3D) รวมถึงตั้งชื่อโปรเจคและตำแหน่งที่ตั้งของโปรเจคเกมของเราอีกด้วย จากนั้นกด create project ตัว Unity Launcher จะเปิดหน้สต่าง Editor ให้

รู้จักกับตัว Editor ของ Unity
เมื่อเราสร้างโปรเจคเกมใหม่ หรือเปิดโปรเจคเกมที่สร้างไว้แล้ว ผ่าน Unity Launcher หน้าต่าง Editor ของ Unity จะถูกเปิดขึ้นมา โดยจะมีลักษณะคล้ายๆภาพด้านล่าง (เนื่องจากหน้าต่างย่อยใน Editor สามารถโยกย้ายไปมาได้ ดังนั้นในภาพด้านล่างนี้อาจจะไม่เหมือนกับตอนเปิดใช้ครั้งแรกจริง)

สำหรับบทนี้จะขออธิบายส่วนประกอบใน Editor เพียง 12 ส่วนนะครับ

[Image: image-A87C_58E4EF3F.jpg]

1.Scene
เป็นส่วนสำหรับจัดการกับแผนที่หรือ Scene ในเกมนั่นเอง เช่น การจัดวางตำแหน่งของโมเดลตัวละครหรือสิ่งของต่างๆ รวมถึงการวาดพื้นผิวภูมิประเทศ(terrain) เป็นต้น
[Image: image-0C45_58E4F465.jpg]
เป็นส่วนสำหรับจัดการกับแผนที่หรือ Scene ในเกมนั่นเอง เช่น การจัดวางตำแหน่งของโมเดลตัวละครหรือสิ่งของต่างๆ รวมถึงการวาดพื้นผิวภูมิประเทศ(terrain) เป็นต้น

1.1เครื่องมือปรับแต่งการแสดงผล
เป็นเครื่องมือสำหรับปรับแต่งการแสดงผลภาพใน Scene (ไม่ใช่ในเกม) เช่นต้องการให้ Scene แสดงโมเดล เป็น Wireframe(โครงร่าง) เท่านั้น หรือ แสดงแบบมี shader ก็สามารถปรับได้จากเครื่องมือนี้
แสดงผลแบบ Wireframe
[Image: image-0C45_58E4F465.jpg]
แสดงผลแบบมี Shader
[Image: image-0FEF_58E4F427.jpg]

1.2เครื่องมือสลับโหมดการแสดงผล
เป็นเครื่องมือสำหรับสลับโหมดการแสดงผลระหว่าง 2D กับ 3D ซึ่ง 2D โหมด สำหรับเกมสามมิตินั้น เหมาะสำหรับใช้ในการจัดวางพวก GUI ต่างๆในเกม เช่น แถบคำสั่งในเมนูเริ่มเกม เป็นต้น
2D Mode
[Image: image-4069_58E4F427.jpg]
3D Mode
[Image: image-0FEF_58E4F427.jpg]

1.3แถบเครื่องมือ
หากสังเกตหน้าบนของหน้าต่าง Scene จะเห็นแถบเครื่องมือด้านบน ในบทนนี้จะขออธิบายเพียง 4 เครื่องมือที่ใช้บ่อยๆ (เครื่องมือที่ 5 ยังไม่ใช้เลย ตายแปป)
[Image: image-852F_58E4EF3F.jpg]
1.3.1เครื่องมือเลื่อนตำแหน่งจอ 1.3.2เครื่องมือเลื่อนตำแหน่งวัตถุ 1.3.3เครื่องมือปรับองศาวัตถุ 1.3.4.เครื่องมือปรับขนาดวัตถุ
ใช้สำหรับเคลื่อนไปยังจุดต่างๆในฉาก [Image: image-1BD1_58E4EF3F.jpg]
ใช้สำหรับเลื่อนวัตถุไปยังตำแหน่งที่ต้องการในฉาก
[Image: image-974C_58E4F427.jpg]
ใช้สำหรับหมุนวัตถุไปในองศาต่างๆที่ต้องการ
[Image: image-444D_58E4F427.jpg]
ใช้สำหรับย่อหรือขยายวัตถุให้ใหญ่หรือเล็กตามต้องการ


2.Asset Store
เป็นส่วนที่เราสามารถดาวน์โหลด Asset ต่างๆเช่น Script, โมเดล หรือ Plugin สำหรับ Editor มาใช้กับโปรเจคเกมของเราได้ โดยมีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน เมื่อกดโหลด Asset จากหน้าต่างนี้ ตัว Asset จะถูกโหลดมาเก็บไว้ในโหลเดอร์โปรเจคของเราเลย
[Image: image-8A56_58E4F427.jpg]

3.Animator
เป็นส่วนสำหรับจัดการ Animation ให้โมเดลของเรา โดยส่วนนี้จะเป็นการจัดการกับความสัมพันธ์ระหว่าง Animation

เช่น "จาก Animation ยืนนิ่ง สามารถเปลี่ยนไปเป็น Animation ถูกโจมตี ได้
ซึ่งจะต้องมีการลากเส้นเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 Animation นี้ด้วย"
เป็นต้น

โดยข้อมูลความสัมพันธ์นี้จะถูกบันทึกไว้ใน Animation Controller ซึ่งจะขอพูดถึงในภายหลังนะครับ

[Image: image-D44B_58E8641B.jpg]

5.Hierarchy (ข้าม 4 ไปก่อนนะ จะไปอธิบายที่ 9 เลย)
เป็นส่วนแสดงวัตถุต่างๆในฉาก ในรูปแบบของรายการ โดยมีการเรียงลำดับชั้น


เช่น "จาก รูปด้านล่าง วัตถุ Player มีวัตถุ Mesh อยู่ภายใน แสดงว่า วัตถุ Mesh นั้นมีลำดับชั้นต่ำกว่า วัตถุ Player หากวัตถุ Player มีการเคลื่อนที่ วัตถุ Mesh จะเคลื่อนที่ตามไปด้วย" เป็นต้น

[Image: image-67BE_58E4FA6B.jpg]


6.Inspector
เป็นส่วนแสดงคุณสมบัติของสิ่งที่เราคลิก ซึ่งหน้านี้จะแสดงผลแตกต่างกันออกไป ดังเช่นตัวอย่างในรูปด้านล่างนี้
เมื่อคลิกวัตถุในฉากเมื่อคลิกที่โมเดล
จะแสดง Component หรือ ส่วนประกอบต่างๆของวัตถุนั้นๆ (จะอธิบายอีกทีในบทถัดไป)
[Image: image-BEB8_58E4FAD9.jpg]
จะแสดงรายละเอียดของโมเดลนั้นๆ รวมถึง Animation ในตัวโมเดล
[Image: image-C390_58E4FAD9.jpg]



7.Service
เป็นส่วนสำหรับจัดการ Service ต่างๆที่ Unity ในบริการ (ดังที่กล่าวไว้ในบทนำ)
[Image: image-FBA4_58E4FA6B.jpg]


8.Project
เป็นส่วนสำหรับจัดการไฟล์ต่างๆในโปรเจค ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์ Script, โมเดล, texture และอื่นๆ รวมถึงโฟลเดอร์ต่างๆด้วย
[Image: image-CB1B_58E4FA6B.jpg]


9.Game
เป็นส่วนแสดงผลเกม เมื่อทำการทดสอบเกม โดยสามารถกดทดสอบเกมได้ที่แถบเมนูในข้อ 4
[Image: image-AF5D_58E50407.jpg]


10.Animation
เป็นส่วนจัดการ Animation ในเกม โดนส่วนนี้จะเป็นการจัดการคีย์เฟรมต่างๆ ซึ่งไม่ขอลงรายละเอียดในบทนี้


11.Audio Mixer
เป็นส่วนจัดการระบบเสียงในเกม ซึ่งไม่ขอลงรายละเอียดในบทนี้


12.Console
เป็นส่วนแสดงผลข้อความเตือนเมื่อเกิดข้อผิดพลาดกับตัวเกม โดยมากมักจะเป็นปัญหาจาก Script นอกจากนี้ยังใช้แสดงผลข้อความต่างๆเพื่อการทดสอบได้อีกด้วย



ในบทนี้ก็ขอฝากไว้เพียงเท่านี้ *มอง* แล้วพบกันบทหน้าครับ