irpg Community
[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 3 อัลกอรึทึม (Algorithm) - Printable Version

+- irpg Community (http://irpg.in.th)
+-- Forum: Imperial School of Art, Literature and Design (http://irpg.in.th/forum-41.html)
+--- Forum: Literature & Design Library (http://irpg.in.th/forum-14.html)
+--- Thread: [สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 3 อัลกอรึทึม (Algorithm) (/thread-3073.html)



[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 3 อัลกอรึทึม (Algorithm) - Mikichan - 04-14-2017

ติดตามเราได้ที่ Facebook ชื่อเพจ Planila Game Developer


จากบทที่แล้ว บทที่ 2 เกมเอนจิน (Game Engine) เราได้เรียนรู้ว่า "เกมเอนจินคืออะไร?" และผู้อ่านคงได้เลือกเกมเอนจินที่ตนเองสนใจแล้ว ผู้อ่านทราบแล้วว่าการพัฒนาเกมได้จะต้องป้อนคำสั่งให้กับอุปกรณ์ และในการพัฒนาเกมผู้อ่านคงมีความคิดอยู่แล้วว่าอยากจะให้เกมเป็นแบบไหน อยากให้เกมมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร แต่ติดปัญหาตรงที่ว่า "เราจะเปลี่ยนความคิดเหล่านั้นเป็นคำสั่งในเกมได้อย่างไร?" ในบทนี้เราจะมาเรียนวิธีการเปลี่ยนความคิดต่าง ๆ ให้เป็นอัลกอริทึมกัน



อัลกอริทึมคืออะไร?

อัลกอริทึม (Algorithm) หมายถึงวิธีการแก้ปัญหาแบบเป็นลำดับขั้นตอน โดยลำดับขั้นตอนนั้นจะต้องมีความละเอียด ชัดเจน และสามารถตีความได้อย่างเดียวเท่านั้น ถ้าลองเปิดหนังสือสอนทำอาหาร ส่วนที่เป็นอัลกอรึทึมคือวิธีการทำอาหาร ในการพัฒนาเกมส่วนที่เป็นอัลกอริทึมคือวิธีการทำงานของเกม จากที่ได้เรียนไปในบทที่ 1 ว่า "อุปกรณ์จะทำงานโดยการอ่านคำสั่ง" ดังนั้นอัลกอริทึมของเกมก็คือวิธีการป้อนคำสั่งให้กับอุปกรณ์นั่นเอง



ทำไมต้องเขียนอัลกอริทึม?

จากที่ได้กล่าวไปตั้งแต่บทที่ 1 แล้วว่า "อุปกรณ์จะทำงานโดยการอ่านคำสั่งทีละบรรทัด" และอัลกอริทึมคือลำดับขั้นตอนในการดำเนินการที่ต้องเขียนเป็นข้อ ๆ ทีละบรรทัด ดังนั้นการเขียนอัลกอริทึมทำให้เราสามารถป้อนคำสั่งให้กับอุปกรณ์ทีละบรรทัดได้อย่างถูกต้อง ถ้าผู้อ่านเขียนอัลกอริทึมไม่ได้ ผู้อ่านก็ป้อนคำสั่งให้กับอุปกรณ์ไม่ได้ เมื่อผู้อ่านป้อนคำสั่งให้กับอุปกรณ์ไม่ได้ ผู้อ่านก็พัฒนาเกมเป็นของตนเองไม่ได้ ต่อให้ผู้อ่านใช้เกมเอนจินที่ใช้งานง่ายแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าผู้อ่านเขียนอัลกอริทึมไม่ได้ ผู้อ่านก็พัฒนาเกมไม่ได้ ดังนั้นอัลกอริทึมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนาเกม

อัลกอริทึมเป็นหนี่งในสองสิ่งสำคัญในการเขียนโปรแกรมและการพัฒนาเกม สิ่งสำคัญอีกอย่างคือความรู้เกี่ยวกับภาษาอุปกรณ์หรือเกมเอนจินที่ใช้ ในการเขียนโปรแกรมและการพัฒนาเกมไม่จำเป็นต้องมีความรู้ลึกมากก็ได้ แค่มีความรู้พื้นฐานที่สำคัญ และสามารถเปลี่ยนความคิดในหัวเป็นอัลกอริทึมได้ก็เพียงพอแล้ว เกมบางตัวใช้แค่คำสั่งพื้นฐานแต่ก็สามารถเป็นเกมฟอร์มยักษ์ได้ เพราะผู้ที่พัฒนาเกมนั้นรู้จักนำความรู้พื้นฐานมาประยุกต์ใช้ โดยการเขียนอัลกอริทึมที่มีความซับซ้อนจากคำสั่งพื้นฐานที่แม้แต่นักพัฒนาเกมมือใหม่ก็ยังทราบ

ผู้อ่านที่ไม่เคยเขียนอัลกอริทึมมาก่อนอาจรู้สึกว่าการเขียนอัลกอริทึมเป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากการเขียนอัลกอริทึมต้องเขียนเป็นลำดับทีละข้อ แต่ละข้อต้องละเอียด ไม่กำกวม ไม่คลุมเครือ ตีความได้อย่างเดียวเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เราสั่งให้เพื่อนที่เป็นมนุษย์ต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เราแค่บอกว่า "ต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้หน่อย" แค่นี้เพื่อนก็สามารถทำตามความต้องการของเราได้อย่างถูกต้องแล้ว แต่ถ้าใช้คำสั่ง "ต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้หน่อย" กับหุ่นยนต์ หุ่นยนต์บางตัวอาจงงทำอะไรไม่ถูกกับคำสั่งของเรา หุ่นยนต์บางตัวอาจต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปทั้งที่ยังไม่ได้ฉีกซองเลย หุ่นยนต์บางตัวอาจใช้นมในการต้มแทนน้ำ หุ่นยนต์บางตัวอาจใช้กระทะในการต้มแทนหม้อ ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการใช้คำสั่งที่ไม่ละเอียดและสามารถตีความได้หลายอย่าง ในการเขียนอัลกอริทึมต้องเขียนคำสั่งให้ละเอียด ตีความได้เพียงอย่างเดียว เขียนทุกขั้นตอน ทุกคำสั่ง และต้องเขียนให้คนโง่ที่สุดในโลกก็สามารถทำตามความต้องการของเราได้อย่างถูกต้อง 100%



เขียนอัลกอริทึมได้อย่างไร?

การเขียนอัลกอริทึมสามารถทำได้ 3 แบบ ได้แก่

1. การเขียนอัลกอริทึมแบบความเรียง วิธีนี้คือการเขียนเป็นข้อความปกติ วิธีนี้เหมาะกับอัลกอริทึมที่มีขนาดเล็กและมีความซับซ้อนน้อย

ตัวอย่างความเรียงที่อธิบายวิธีการทำไข่ดาว

Quote:นำกระทะไปวางบนเตาแก๊ส เปิดเตาแก๊ส เทน้ำมันพืชลงไปในกระทะ 30 มิลลิลิตร แล้วรอจนกว่าน้ำมันเดือด เมื่อน้ำมันเดือดแล้ว ตอกไข่ไก่ 1 ฟอง แล้วใส่ไข่ขาวกับไข่แดงลงในกระทะ ส่วนเปลือกไข่นั้นให้ทิ้งลงในถังขยะ เสร็จแล้วรอจนกว่าไข่ขาวและไข่แดงเริ่มแข็งตัว เมื่อไข่ขาวและไข่แดงเริ่มแข็งตัวแล้ว ใช้ตะหลิวพลิกไข่ขาวและไข่แดงแล้ววางไว้บนกระทะเหมือนเดิม เมื่อไข่ขาวและไข่แดงสุกแล้ว นำตะหลิวตักไข่ขาวและไข่แดงมาวางไว้บนจาน ปิดเตาแก๊ส เพียงเท่านี้ก็ทำไข่ดาวเสร็จแล้ว


2. การเขียนอัลกอริทึมแบบ Flowchart วิธีนี้คือการใช้รูปภาพในการสื่อความหมาย ทำให้เห็นลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ได้ง่ายและชัดเจน รูปภาพที่นำมาใช้จะต้องเป็นรูปภาพสากลที่ทุกคนเข้าใจได้ตรงกัน วิธีนี้เหมาะกับอัลกอริทึมที่มีความซับซ้อนมาก แต่ไม่เหมาะกับอัลกอริทึมที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจาก Flowchart ใช้พื้นที่ในการเขียนค่อนข้างมาก

รูปภาพพื้นฐานที่ควรทราบ ได้แก่


รูปภาพ


ความหมาย


วิธีใช้

[Image: A_01.png]ดำเนินการทั่วไป
(Process)
ใช้กับการดำเนินการทั่วไป เช่น การประกาศตัวแปร การคำนวณ เป็นต้น
[Image: A_02.png]ตรวจสอบเงื่อนไข
(Decision)
ใช้ตรวจสอบด้วยเงื่อนไข "ถ้า...แล้ว... (If...Then...)" ลูกศรที่ออกจากรูปภาพนี้ต้องมีสองเส้น เส้นหนึ่งเขียนกำกับว่า "จริง (True)" อีกเส้นหนึ่งเขียนกำกับว่า "เท็จ (False)"
[Image: A_03.png]แสดงลำดับขั้นตอน
(Arrow)
ใช้บอกลำดับการทำงาน เชื่อมรูปภาพหนึ่งกับอีกรูปภาพหนึ่ง โดยให้ฝั่งหัวลูกศรคือลำดับการทำงานต่อไป รูปภาพหนึ่งจะมีลูกศรออกมาได้แค่ 1 เส้นเท่านั้น ยกเว้นรูปภาพตรวจสอบเงื่อนไขที่มีลูกศรออกมา 2 เส้น
[Image: A_04.png]จุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุด
(Start/End)
ใช้เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด Flowchart ทั้งหมดต้องมีรูปภาพนี้ 2 รูปเสมอ รูปหนึ่งคือจุดเริ่มต้น อีกรูปหนึ่งคือจุดสิ้นสุด
[Image: A_04.png]รับข้อมูลหรือแสดงผลแบบไม่เจาะจง
(Input/Output)
ใช้เพื่อรับข้อมูลหรือแสดงผลแบบไม่เจาะจงอุปกรณ์ในการรับข้อมูลหรือแสดงผล
[Image: A_06.png]จุดเชื่อมต่อภายในหน้าเดียวกัน
(On-Page Reference)
ใช้เชื่อมบริเวณที่มีลูกศรหลายเส้นชี้มารวมกัน เช่น บริเวณหลังจากการตรวจสอบเงื่อนไขอาจจะมีลูกศรชี้มาที่ตำแหน่งเดียวกันหลายเส้น เราจะใช้รูปภาพนี้เพื่อรวมลูกศรเหล่านั้นให้เหลือเพียงเส้นเดียว
[Image: A_07.png]จุดเชื่อมต่อระหว่างหน้า
(Off-Page Reference)
ใช้เชื่อมการทำงานที่เขียนอยู่คนละหน้ากัน (ในกรณีที่เขียน Flowchart หลายหน้า)

ตัวอย่าง Flowchart ที่อธิบายวิธีการหุงข้าว

......


นี่เพิ่งแค่ 30% ของบทความนี้เท่านั้น บทความฉบับเต็มมีเยอะกว่านี้อีก!


เนื่องจากติดปัญหาเรื่องนโยบายการเผยแพร่บทความ ทำให้เราไม่สามารถเผยแพร่บทความฉบับเต็มลงในเว็บนี้ได้ อ่านฉบับเต็มได้ที่บทความต้นฉบับ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

บทความต้นฉบับ https://planila.blogspot.com/2017/04/3-algorithm.html

[Image: %25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8...9%2588.png]


RE: [พื้นฐานสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 3 อัลกอรึทึม (Algorithm) - slost - 04-15-2017

ละเอียดกว่าที่ผมเคยทำสอนมากเลย แพนด้าจ๊าก
สุดยอดครับ


RE: [พื้นฐานสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 3 อัลกอรึทึม (Algorithm) - dreamknight - 04-19-2017

;3

อธิบายเอาไว้ได้ดีเลยครับ Derp


RE: [พื้นฐานสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 3 อัลกอรึทึม (Algorithm) - Mysticphoenix - 04-19-2017

เยี่ยมครับ น่าจะเขียนหนังสือจริงๆเลยนะเนี่ย