Crowdfunding คืออะไร
มันเป็นการเรียกชื่อวิธีการรวมทุนมาเพื่อสร้างธุรกิจหรือกิจกรรมบางอย่าง
จากมวลชนที่สนใจ ไม่ต้องใช้เงินร่วมลงทุนเยอะๆ
ช่วยกันทีละเล็กน้อยและเมื่อรวมจนครบตามเป้าหมายที่ตั้งใว้
ผู้รวมทุนก็จะนำเงินนั้นไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใว้
โดยที่ผู้ร่วมลงทุนอาจได้รับผลตอบแทนเป็นบางอย่างหรือได้ข้อมูลจากการที่นำเงินนั้นไปลงทุนในกิจกรรมดังกล่าว ตามเงื่อนไขของผู้ขอรวมทุน
รูปแบบไม่เหมือนสหกรณ์นะครับ ต่างกันเยอะเลย
พูดไปอาจไม่เข้าใจและไม่เห็นภาพเท่าไร
จะขอยกตัวอย่างที่หลายๆคนคงพอจะได้ยินมาเช่น เกม
No.9 ของผู้สร้างร๊ิอกแมน
เค้าได้ใช้วิธีการ Crowdfunding ของเว็บที่เป็นตัวแทนรับเรื่องและรวมทุน
kickstarter
โดยตั้งเป้าใว้แต่แรกว่าต้องการเงินทุนเป็นจำนวนเท่าไรที่จะพัฒนาเกมนี้ออกมา
เริ่มต้น 1.2 ล้านเหรียญ หากครบก็จะสร้างเกมตามรูปแบบที่กำหนดใว้
และสำหรับผู้ร่วมลงทุนจะได้ รับของตอบแทนเป็นสิ่งต่างๆ
ตามขั้นของจำนวนเงินที่สนใจลงทุนมา
http://www.kickstarter.com/projects/migh...ighty-no-9
สำหรับคนที่มีฝีมือและมีโปรเจคดีๆการร่วมทุนแบบนี้ก็คงทำได้ หากมีคนสนใจร่วม
แต่ที่จะพูดกันวันนี้ไม่ได้หมายถึงการใช้ในแบบนี้เท่านั้น
สำหรับบางคนก็ได้ยื่นโครงรวมทุนเพื่อกิจกรรมสาธารณะก็มี
หรือเพื่อช่วยเหลือพื้นฟูสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนต่างๆ
อย่างหน้านี้ จะมีโคงการอื่นๆของประเทศไทย
http://www.kickstarter.com/discover/plac...ref=footer
เว็บรวมทุนนี้ไม่ได้มีแค่ kickstarter นะครับมีอีกเยอะเลย
แต่ยกตัวอย่างมาเพราะคงจะเข้าใจได้เร็วด้วยตัวอย่างของ No.9
และผ่านกฏหมายของอเมริการเรียบร้อยแล้่วด้วยสำหรับวิธีการ Crowdfunding
ตัวอย่างของการใช้ Crowdfunding เช่น
การอนุรักษ์ ดนตรีพื้นบ้าน
เราอาจเห็นว่ามีคนพอจะเล่นเป็นอยู่แต่เหลือจำนวนน้อยลง
และจะทำเช่นไรที่จะรักษามันใว้ได้
การจะไปเรียนรู้และสอนก็อาจใช้เวลานานและสิ้นเปลื่องงบมาก
แต่หากจะทำสารคดีหรือจัดงานอีเวนท์เพื่อให้คนสนใจหรือได้รู้จัก
มันน่าจะมีแรกผลักดันได้มากว่า
ก็อาจเขียนโครงการระดมทุนจัดการแสดงดนตรีพื้นบ้านและทำสารคดี
โดยจะมีประโยชน์คือกระตุ้นให้คนในชุมชนสนใจที่จะการอนุรักษ์มันใว้
และจะมอบสารคดีเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านชุดนี้ให้เป็นของตอบแทนสำหรับผู้ร่วมลงทุน
จะเห็นได้ว่า หากมีคนรวมลงทุนจนครบ นอกจากจะช่วยตามเป้าหมายแล้ว
ผู้ร่วมลงทุนเองก็ได้ทั้งเป็นผู้ยืนมือช่วยเหลือในการอนุรักษ์
และยังได้รับสารคดีเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้าน ที่เรามีส่วนช่วยให้มันเกิดอีกด้วย
บางครั้งเงื่อนไขของผู้รวมทุนก็อาจมีลำดับขั้นสำหรับผู้ร่วมลงทุนเช่นกัน
จุดนี้ถึงทำให้มันแตกต่างจากการรับบริจาค
เช่นมีเว็บไซต์หนึ่งที่สอนเกี่ยวกับการลงทุนเรื่องการเงิน
เค้าก็จะมีกำหนดว่า หากร่วมลงทุน 1หน่วย
ก็จะได้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนทางการเงินจากที่นี้
แต่หากลงทุน 10หน่วย
ก็จะได้รับปันผลจากการนำเงินรวมทุนนี้ไปลงทุน เป็นต้น
หลายๆคนอาจงงนะครับผมมาพูดเรื่องแบบนี้ทำไม
ตอนนี้อาจไมค่อยเข้าใจ แต่วันหนึ่งที่คุณกำลังมองหาเงินทุน
หรือกำลังจะพัฒนาอะไรและบางครั้งอาจคิดโครงการอะไรดีๆเพื่อสังคมหรือชุมชนได้
หากหาเงินทุนไม่ได้ลองพวกนี้ดูก็ดีนะครับ
สำหรับ Crowdfunding คงพูดเท่านี้
จริงๆว่าจะเขียนเรื่องเงินทุนช่วยเหลือพัฒนาสังคมมนุษยเข้าไปด้วยแต่มันทำงานไม่เหมือนกัน เพราะมันจะเป็นเงินจากกองทุนไม่ได้รวมเอาจากมวลชนที่สนใจ
ใว้มีใครสนใจจริงๆจะอธิบายให้ฟังทีหลังนะครับ